วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

The Nature of Science_in Benchmarks online

The Scientific Worldview : Grades 6 through 8
วัยรุ่นมีความสนใจสิ่งที่ลงมือปฏิบัติมากกว่าปรัชญา พวกเขามีส่วนร่วมในการหาความรูทางวิทยาศาสตร์และสะท้อนมุมมองทางวิทยาศาสตร์ ยังไม่ช้าไปที่วัยนี้จะเริ่มต้นจัดการเกี่ยวกับปัญหาความคงทนด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พวกเขาควรได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น บางครั้งผลของการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์จะทำให้ได้ข้อมูลใหม่ ๆ ซึ่งอาจทำให้คิดค้นทฤษฎีที่ดีกว่าเดิม

เมื่อจบเกรด 8 นักเรียนควรรู้เกี่ยวกับ...
· เมื่อมีการตรวจสอบแล้วว่ามีผลที่แตกต่างกัน ความท้าทายทางวิทยาศาสตร์ คือ การตัดสินผลว่า ความแตกต่างนั้นมีความสำคัญหรือไม่ และต้องมีการศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจ
· เมื่อได้ผลที่คล้ายกัน นักวิทยาศาสตร์ต้องรอจนกว่ามีการตรวจสอบซ้ำหลาย ๆ ครั้งก่อนที่ยอมรับว่าถูกต้อง
· ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ วิชาที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใหม่ของทฤษฎีที่มีความแพร่หลาย และทฤษฎีใหม่จะนำไปสู่การสังเกตแบบเก่าในมุมมองใหม่
· ความรู้ทางวิทยาศาสตร์บางอย่างเก่ามาก แต่ก็ยังได้รับการยอมรับในปัจจุบัน
· เรื่องบางเรื่องยังไม่สามารถอธิบายในทางวิทยาศาสตร์ได้ ซึ่งในธรรมชาติไม่สามารถทดสอบได้โดยการสังเกต
· บางครั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถให้ข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องจริยธรรม โดยชี้ให้เห็นว่าการกระทำมีความสำคัญ แต่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถใช้ติดสินการกระทำว่าถูกหรือผิดจริยธรรม


Scientific Inquiry : Grades 6 through 8
ในระดับชั้นนี้ นักเรียนต้องการการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งใน 1 อาทิตย์ ต้องมีอย่างน้อย 1 ครั้งหรือมากกว่านั้น โดยทั่วไปการเรียนแบบนี้เป็นการเรียนแบบใช้การทดลอง ซึ่ง concept การเรียนแบบนี้จะได้ผลตรงไปตรงมา แต่การปฏิบัตินั้นจะสำเร็จได้ยาก ผู้เรียนจะมีการพัฒนาตนเองได้ ก็ต่อเมื่อมีการทดลอง สืบเสาะ ปฏิบัติอย่างเพียงพอด้วย (ต้องใช้การทดลองหลาย ๆ แบบ) และอภิปรายในการทดลองอย่างชัดเจนว่าเป็นรูปแบบใด นักเรียนที่เรียนแบบสืบเสาะควรจะให้ความสำคัญกับการเรียนในทุกขั้นตอน และประสบการณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ด้วย concept ในการเรียนวิทยาศาสตร์ทั้งระบบนี้ต้องมีหลักสูตร แต่ก็ไม่ได้ทำให้นักเรียนได้แนวคิดทั้งหมดหรือได้มาจากความบังเอิญ นักเรียนต้องทำ lab ด้วยตนเอง และจุดประสงค์หลักของนักเรียนที่เรียนแบบสืบเสาะนี้ ต้องทำให้นักเรียนรู้ว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างไร พื้นฐานที่สำคัญมาก คือ การอ่าน การเรียนในระดับชั้นนี้เป็นช่วงที่ดีที่จะแนะนำให้รู้จักนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถค้นพบความจริง ซึ่งอาจไม่ต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง แต่ควรเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความแตกต่างกัน เช่น ประสบการณ์ อายุ วัฒนธรรม สถานการณ์ เวลา เป็นต้น

เมื่อจบเกรด 8 นักเรียนควรรู้เกี่ยวกับ...
· การสืบสวนทางวิทยาศาสตร์นำไปสู่การเก็บสะสมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์โดยใช้เหตุผล จินตนาการในการหาสมมติฐาน และการอธิบายการเก็บข้อมูลอย่างสมเหตุสมผล
· ถ้ามีตัวแปรเปลี่ยนแปลงไปมากกว่า 1 ตัว เวลาทดลอง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ชัดเจน เนื่องมาจากตัวแปรที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจจะไม่มีทางควบคุมตัวแปรภายนอกไม่ให้มีอิทธิพลได้
· นักวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างกันในการศึกษาปรากฏการณ์ของแต่ละวิชา และพวกเขาก็จะมีวิธีการทำงานในแต่ละสาขา
· การทำงานร่วมกันระหว่างผู้ที่คอยสืบเสาะ กลุ่มคนเหล่านี้สามารถเป็นผู้นำในการออกแบบการวิจัยหรือทดลองได้เสมอ ซึ่งสามารถจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ โดยอาจจะไม่สามารถควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ได้ทั้งหมด
· สิ่งที่คนอื่นคาดหวังในการสำรวจสิ่งต่าง ๆ เสมอ คือ ผลสรุปที่เกิดขึ้นว่า พวกเขาได้ทำการสำรวจกันจริง ๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่มาสนับสนุนแนวคิดของตนเองโดยพยายามหลีกเลี่ยงอคติและเป็นอิสระจากผู้มีอำนาจ
· นักวิทยาศาสตร์ทราบเกี่ยวกับข้อเสียของสิ่งที่คาดคะเนไว้ล่วงหน้า และเขาได้พยายามทำตามขั้นตอนเมื่อได้ออกแบบการสำรวจและทดสอบข้อมูล มาตรการอย่างหนึ่งที่แตกต่างกันในการสืบเสาะในการดำเนินการหรือปฏิบัติ คือ การเรียนด้วยตนเอง


Scientific Enterprise : Grades 6 through 8

เมื่อเรียนจบเกรด 8 นักเรียนควรทราบว่า
· สิ่งที่สนับสนุนความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี คือ ความแตกต่างกันของคนในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันและเวลาที่ต่างกัน
· สตรีและชนกลุ่มน้อย มีข้อจำกัดในการศึกษาและโอกาสการจ้างงานของสถานประกอบการ
· ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้น ทำให้ทุกคนดำรงชีวิตบนโลกนี้ได้
· นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ธุรกิจ และอุตสาหกรรม โรงพยาบาล และหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหลาย ซึ่งล้วนประกอบด้วยสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ฟาร์ม โรงงาน ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินตลอดจนมหาสมุทร
· ในการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ จริยธรรมของวิทยาศาสตร์กำหนดให้ทราบเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและมีสิทธิที่จะปฏิเสธที่จะเข้าร่วมวิจัย เพราะสัตว์ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
· จริยธรรมทางวิทยาศาสตร์ คือ นักวิทยาศาสตร์ต้องไม่ทราบเรื่องของผู้ร่วมงาน นักเรียนหรือชาวชุมชนเพื่อสุขภาพหรือทรัพย์สิน โดยไม่มีความรู้เดิมและได้รับความยินยอม
· คอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งสำคัญทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีเพราะความเร็วและขยายความสามารถของผู้คนในการรวบรวม จัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ทำรายงานการวิจัยและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันทั่วโลก
· การเก็บบันทึกข้อมูล การเปิดกว้าง และการจำลองเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาความน่าเชื่อถือของนักวิทยาศาสตร์และสังคม
· ความสนใจและมุมมองส่วนบุคคลของนักวิทยาศาสตร์จะมีผลต่อคำถามที่เขาศึกษา
· นักวิทยาศาสตร์ได้มีการเชื่อมโยงกับนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ทั่วโลกทั้งส่วนตัวและผ่านหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ

ที่มา : http://www.project2061.org/publications/bsl/online/index.php?chapter=1#B3

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

The Nature of Science


ความหมายของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ องค์ความรู้ที่มีระบบและจัดไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน

ลักษณะเฉพาะของวิทยาศาสตร์
โซวอลเตอร์ และคณะ (Showalter and others อ้างถึงใน สุเทพ อุสาหะ 2526 :15-16) ได้กล่าวถึงลักษณะของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ว่าประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เป็นความจริงชั่วคราว ไม่มีความเป็นอมตะในวิทยาศาสตร์
2. เป็นสาธารณะ ทุกคนสามารถสังเกตหรือทดสอบได้
3. ทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้ ภายในภาวะคล้ายกัน แม้ว่าเวลาและสถานที่จะเปลี่ยนไป
4. เป็นเรื่องของโอกาสที่จะเป็นไปได้
5. เป็นผลของความพยายามของมนุษย์ที่จะทำความเข้าใจหรือหาแบบแผนของธรรมชาติ
6. ความรู้วิทยาศาสตร์ในอดีตเป็นพื้นฐานในการพบความรู้ใหม่ ๆ ในปัจจุบัน และความรู้ในปัจจุบันจะเป็นพื้นฐานในการค้นพบสิ่งใหม่ ในอนาคต
7. มีลักษณะเฉพาะตัวคือได้จากวิธีการเสาะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
8. มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคือ ความรู้วิทยาศาสตร์จะช่วยเสริมมโนทัศน์อื่น ๆ
9. วิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้อย่างมีระบบ ปราศจากอคติ ปราศจากผลตอบแทน ส่วนคำว่า "เทคโนโลยี" เป็นเรื่องของการนำความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยมุ่งแสวงหากระบวนการและรูปแบบในการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม (เสริมพล รัตสุข. 2526 : 3-4)

ความรู้วิทยาศาสตร์และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
ความรู้วิทยาศาสตร์ เกิดจากความพยายามของมนุษย์ที่จะเชื่อมโยงโลกทางกายภาพ ชีวภาพ จิตวิทยาและสังคมเข้าไว้ด้วยกัน ความรู้วิทยาศาสตร์นี้จึงได้รับการพัฒนาภายใต้แนวคิดทางสังคม ปรัชญา และจิตวิทยาที่มนุษย์มีต่อการศึกษา การใช้และการอธิบายความรู้ที่ได้ค้นพบ การอธิบายถึงวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านของความหมาย วิธีการได้มาซึ่งความรู้วิทยาศาสตร์ และการพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นการอธิบายถึงธรรมชาติของวิทยาศาสตร์นั่นเอง (McComas และคณะ, 1998)
ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific knowledge) เนื่องจากความรู้วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากการสังเกตและประสบการณ์ที่ได้รับเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ องค์ประกอบของความรู้วิทยาศาสตร์ คือ
1. ข้อเท็จจริง (Fact) คือ การสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือสิ่งใดๆ ที่เป็นอยู่จริงไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตโดยตรง หรือโดยอ้อม (ข้อเท็จจริงในธรรมชาติย่อมถูกต้องเสมอ แต่การสังเกตข้อเท็จจริงอาจผิดพลาดได้) ความรู้ที่ได้นี้ เมื่อทดสอบในสถานการณ์หรือสภาวะเดียวกันจะได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้ง
2. ความคิดรวบยอดหรือ มโนมติ (Concept) คือ ความคิดหลัก (Main idea) ของแต่ละบุคคลที่มีต่อเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์นั้นๆ มโนมติเกิดจากการนำข้อเท็จจริงมาศึกษาหรือเปรียบเทียบความแตกต่าง สรุปรวมลักษณะที่สำคัญ มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นๆ สร้างเป็นความคิดหลักในรูปที่แสดงถึงความคิด ความเข้าใจ
ทำให้นำไปใช้ในการบรรยาย อธิบาย หรือพยากรณ์เหตุการณ์ วัตถุ และปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละคนอาจมีนโนมติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ ความรู้เดิม วัยวุฒิ และ เหตุผลของบุคคลนั้นๆ
3. หลักการ (Principle) เป็นความจริงที่ใช้เป็นหลักในการอ้างอิงได้ โดยนำกลุ่ม มโนมติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ซึ่งได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงแล้วว่าเป็นจริง แล้วนำไปใช้อ้างอิงและพยากรณ์เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องได้ (หลักการต้องเป็นความจริงที่สามารถทดสอบได้ และได้ผลเหมือนเดิม มีความเป็นปรนัย และเป็นที่เข้าใจตรงกัน)
4. สมมติฐาน (Hypothesis) หมายถึง ข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อคาดคะเนคำตอบของปัญหาล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการทดลอง สมมติฐานใดจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักฐาน เหตุผลที่จะสนับสนุนหรือคัดค้าน (ข้อความที่เป็นสมมติฐานต้องเป็นข้อความคาดคะเนคำตอบโดยที่บุคคลนั้นยังไม่เคยรู้หรือเรียนมาก่อน)
5. ทฤษฎี (Theory) เป็นข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น เป็นคำอธิบายหรือความคิดที่ได้จากสมมติฐานที่ผ่านการตรวจสอบหลายๆ ครั้ง และใช้อ้างอิงได้ หรือ ทำนายปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างกว้าง สามารถใช้อธิบายกฎ หลักการ และการคาดคะเนข้อเท็จจริงในเรื่องทำนองเดียวกันได้ (ทฤษฎี เป็นความคิดของนักวิทยาศาสตร์ อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อได้รับข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นและน่าเชื่อถือมากขึ้น)
6. กฎ (Law) เป็นหลักการอย่างหนึ่งซึ่งเป็นข้อความที่ระบุความสัมพันธ์กันระหว่าง เหตุกับผล และอาจเขียนในรูปสมการแทนได้ ผ่านการทดสอบจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้มาแล้ว (กฎ มีความจริงในตัวของมันเอง ไม่มีข้อโต้แย้ง สมารถทดสอบได้เหมือนเดิมทุกประการ)
กฎอาจเกิดมาได้ 2 ทาง ด้วยกัน
จากการอุปมานข้อเท็จจริง โดยการรวบรวมจากข้อเท็จจริงหลายๆ ข้อเท็จจริงมาสรุปเป็น มโนมติ หลักการ
จากการอนุมานทฤษฎี โดยการดึงส่วนย่อยของทฤษฎีมาเป็นกฎ เช่น กฎสัดส่วนพหูคูณ แยกย่อยมาจากทฤษฎีอะตอม





ความสัมพันธ์ของความรู้ทางวิทยาศาสตร์


ดังนั้นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้วิทยาศาสตร์จึงครอบคลุมถึงความเชื่อและเจตคติที่ผู้เรียนมีต่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ


ที่มา : kmc.sukhothai2.go.th/.../1273494907_nature%20of%20sc%20math%20techno.doc

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุป หมวด ๔ แนวการจัดการศึกษา

มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยืดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา เช่น
- ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง ความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย และระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเรื่องการจัดการ รักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสมดุลยั่งยืน
- ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
- ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
- ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
- จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
- จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบกรณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
- จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
- ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ โดยผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน
- จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
มาตรา ๒๕ รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ
มาตรา ๒๖ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนในหลาย ๆ ด้าน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสม และให้นำผลการประเมินผู้เรียนมาใช้ประกอบการพิจารณา
มาตรา ๒๗ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ โดยสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องเกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
มาตรา ๒๘ หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ โดยต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลในทุกด้าน สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการวิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และสังคม
มาตรา ๒๙ ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

ที่มา : http://www.edu.chula.ac.th/eduinfo/eduact/eduact04.htm

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุปทฤษฎีการสร้างความรู้ : Constructivism

2. ทฤษฎีการสร้างความรู้ ( Constructivism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้มีรากฐานมาจากทฤษฎีการสร้างเชาว์ปัญญาของพีอาร์เจต์ (Jean Piaget) ซึ่งอธิบายว่า โครงสร้างทางสติปัญญาของบุคคลมีการพัฒนาผ่านทางกระบวนการดูดซับหรือซึมซับ (assimilation) และกระบวนการปรับโครงสร้างทางสติปัญญา( accommodation) โดยเขาเชื่อว่าทุกคนจะมีพัฒนาการตามลำดับขั้นจากการมีปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมและสังคม นักทฤษฎีกลุ่มที่เชื่อในทฤษฎีนี้เห็นว่า แม้โลกนี้จะมีอยู่จริงแต่ความหมายของสิ่งต่าง ๆ ไม่ได้มีอยู่ในตัวของมันเอง สิ่งต่าง ๆ มีความหมายขึ้นมาจากการคิดของคนที่รับรู้สิ่งนั้น ดังนั้น
สิ่งต่าง ๆ ในโลกจึงจึงไม่มีความหมายที่ถูกต้องหรือเป็นจริงที่สุดแต่ขึ้นกับการให้ความหมายของคนในโลก ดังนั้นทฤษฎีจึงให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการแปลความหมายและสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งการแปลความหมายของแต่ละคนจะขึ้นกับการรับรู้ ประสบการณ์ ความเชื่อความต้องการ ความสนใจ และภูมิหลัง ซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังนั้นการสร้างความหมายของข้อมูลความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องเฉพาะตนที่บุคคลจะต้องใช้กระบวนการทางสติปัญญาในการจัดกระทำ ไม่ใช่เป็นเพียงการรับข้อมูลเท่านั้น
2.1 ธรรมชาติของผู้เรียน
ผู้เรียนเป็นผู้กระทำและเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นเองเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม สิ่งแวดล้อม บุคคล เหตุการณ์ และสิ่งอื่น ๆ มีบทบาท ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้เรียนปรับความเข้าใจเดิมของตนเองที่มี เช่น การรับรู้ ประสบการณ์ ความเชื่อความต้องการ ความสนใจ ภูมิหลังของแต่ละบุคคลซึ่งมีความแตกต่างกันให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่ โดยเชื่อมโยงความรู้ ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่า(รู้ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้าง) และสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา โดยผู้เรียนสร้างความเข้าใจด้วยตนเอง พยายามค้นหาความหมายของสิ่งต่าง ๆ มองเห็นความสำคัญในสิ่งที่เรียนรู้
2.2 บทบาทของผู้สอน
- ครูควรส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัว กล่าวคือ เป็นผู้ที่ไม่ใช่เพียงรับข้อมูลความรู้เท่านั้น แต่จะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ และสร้างความหมายของสิ่งนั้นด้วยตนเอง
- ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมเนื่องจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างความรู้ โดยควบคุมกระบวนการการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้และคอยอำนวย ความสะดวกให้ผู้เรียนดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น
- ครูควรส่งเสริมให้ผู้เรียนนำตนเอง และควบคุมตนเองในการเรียนรู้ครูจำเป็นต้องเปลี่ยนบทบาทตนเองจากผู้ถ่ายทอดความรู้และควบคุมการเรียนรู้ไปเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ ทำหน้าที่ช่วยสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน จัดเตรียมกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
- ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดเองว่าจะทำอะไรและยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามกันเองได้ อีกทั้งครูเป็นคนให้คำปรึกษาแก่นักเรียนด้วย
- สำหรับวิธีการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้จากกลุ่มนั้น มีหลากหลาย เช่น การฝึกการถาม-ตอบ การจัดการสอนแบบจิ๊กซอว์ การสืบค้นข้อมูล เป็นต้น
2.3 ธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้
แนวความคิดของไวกอตสกี้ เป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิซึม (Social constructivism) ซึ่งเขาเชื่อว่า
- องค์ประกอบสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของบุคคล คือการสร้างสื่อกลางและมีการปฏิสัมพันธ์ ทางสังคมและวัฒนธรรม
- การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อม ทางสังคมและวัฒนธรรม ช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของบุคคล
- การช่วยเหลือและชี้แนะจากผู้ที่มีความชำนาญมากกว่าจะทำให้บุคคลสามารถแก้ ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ด้วยตนเองได้
- ประสบการณ์จากการแก้ปัญหาดังกล่าว จะทำให้บุคคลเกิดการเรียนรู้และสามารถแก้ปัญหานั้นได้โดยลำพังในเวลาต่อมา
ในด้านการเรียนรู้ของบุคคล ไวกอตสกี้ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขอบเขตของการเรียนรู้ไว้ สรุปว่า ผู้เรียนสามารถพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของตนเองขึ้นได้ด้วย การรับคำชี้แนะหรือทำงานร่วมกับผู้ที่มีความชำนาญเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ไวกอตสกี้ อธิบายการพัฒนาขอบเขตของการเรียนรู้ว่า เป็นการลดช่วงห่างระหว่างระดับพัฒนาการทางสติปัญญาที่ผู้เรียนมีอยู่ในขณะนั้น ซึ่งดูได้จากปัญหาที่ผู้ เรียนไม่สามารถแก้ได้โดยลำพัง แต่สามารถแก้ปัญหานั้นได้ถ้าได้รับการชี้แนะจากผู้มีความชำนาญมากกว่า ช่วยให้ผู้เรียนรู้และสามารถแก้ปัญหานั้นได้ด้วยตนเองในเวลาต่อมา
2.4 การทำงานร่วมกันระหว่างผู้เรียน
ผู้เรียนที่มีทักษะและภูมิความรู้เดิมที่แตกต่างกัน ควรมีการอภิปรายร่วมกัน เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความเข้าใจ ความรู้ที่เกิดขึ้น โดยการทำงานร่วมกันของผู้เรียนต้องดูตามศักยภาพของแต่ละคนภายใต้คำแนะนำของครูหรือเพื่อน ซึ่งจะทำให้ประเมินความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง
2.5 ขอบเขตของการจัดการเรียนรู้
ความรู้ประกอบด้วยข้อมูลที่เรามีอยู่เดิม และเมื่อเราเรียนรู้ต่อไปความรู้เดิมก็จะถูกปรับเปลี่ยนไป การปรับเปลี่ยนความรู้ต่างๆ ถือว่าเป็นการรับความรู้เข้ามาและเกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ขึ้น บางครั้งเราคิดว่าถ้าเรามีหลักสูตรที่ดีพอและเต็มไปด้วยข้อมูลที่สามารถให้กับผู้เรียนได้มากที่สุดเท่าที่เราจะให้ได้แล้ว ผู้เรียนก็จะสามารถเรียนรู้ได้เอง แต่ทฤษฎี constructivism กล่าวว่า หลักสูตรอย่างนั้นไม่ได้ผล นอกจากว่าผู้เรียนได้เรียนแล้ว สามารถคิดเองและสร้างมโนภาพความคิดด้วยตนเอง ทั้งนี้ เพราะการให้แต่ข้อมูลกับผู้เรียน ไม่ได้ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ เพราะการเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสมองของคนเรามีกระบวนการสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งกระตุ้นแล้วนำมาทำความเข้าใจว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งจะต้องนำมาสร้างความรู้ ความรู้สึก และมโนภาพของเราเองด้วย ซึ่งรูปแบบการศึกษาควรเป็นแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด หมายความว่าผู้เรียนจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กันกับสิ่งกระตุ้น สิ่งกระตุ้นในที่นี้ หมายถึง ครู ผู้สอน หรือสิ่งแวดล้อมที่จะไปกระตุ้นผู้เรียน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยชี้แนะแนวทางการคิดให้กับผู้เรียน นอกจากนี้การสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งกระตุ้นต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างเป็นความรู้ขึ้นในสมอง

ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Constructivism_(learning_theory)